วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555
วันแม่แห่งชาติ
วันแม่แห่งชาติ
คำว่าแม่ ยิ่งใหญ่ กว่าสิ่งใด เพราะเเม่ให้ กำเนิด เกิดเป็นคน
ปรนนิบัติ เรามา จนเติบใหญ่ ให้ทุกสิ่ง ยิ่งใหญ่ ด้วยใจรัก
ให้ที่พัก พึ่งพิง ให้อุ่นใจ น้ำใจเเม่ นั้นไชร้ สุดเเสนดี
มีสักครั้ง ที่แม่นั้น จะทวงคืน แม่เฝ้ารัก ดูเเล ไม่ขัดขืน
อยู่ข้างกาย เรานั้น ยามป่วยไข้ ให้กำลัง กายใจ สุขอุรา
โอ้ลูกจ๋า รักเจ้า อย่างจริงใจ เเม้เเม่ป่วย เป็นไข้ ไม่สบาย
แม่ไม่เคย เปรยว่า เหนื่อยหนักหนา ตั้งเเต่เจ้า ตัวน้อย นั้นเกิดมา
สุขอุรา ทุกครา ได้ดูเเล เเม่แก่เฒ่า รักเจ้า ไม่ห่างหาย
ทั้งกายใจ ยังห่วงหา ทุกคราไป ไม่ต้องการ สิ่งใด จากเจ้าเลย
ขอเเค่ลูก สุขใจ สบายกาย มิวายเเม่ ยังห่วงหา เอื้ออาทร
ขอมอบกลอน สดุดี บุญคุณเเม่ แด่ดวงใจ ดุจดั่ง ประกายแก้ว
ขอแผ้วพาน สิ่งร้ายใด ให้ใกลแม่ ขอใด้พบ ความสุข อย่ามีทุกข์
ขอขมา ทุกสิ่ง ลูกล่วงเกิน ขออัญเชิญ คุณพระ คุ้มครองเเม่
ขอเเม่จง เป็นมิ่งขวัญ เทวัญวา อย่ามีโรค มีภัย ย่างกลายเเม่
แด่ความดี ทุกสิ่ง ยิ่งใหญ่หนา ขอเทวา อารักข์ ภักดีมา
ปกป้องท่าน ห่างหาย อันตราย ขอมอบกาย มอบใจ ให้ท่านเอย
วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555
วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2555
วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์เถรวาทจะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า พักอยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงฆ์โดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตามการเข้าพรรษาตามปกติเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา
วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) หรือเทศกาลเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) ถือได้ว่าเป็นวันและช่วงเทศกาลทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญเทศกาลหนึ่งในประเทศไทย โดยมีระยะเวลาประมาณ 3 เดือนในช่วงฤดูฝน โดยวันเข้าพรรษาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่ต่อเนื่องมาจากวันอาสาฬหบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งพระมหากษัตริย์และคนทั่วไปได้สืบทอดประเพณีปฏิบัติการทำบุญในวันเข้าพรรษามาช้านานแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย
สาเหตุที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงฆ์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝน และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงเวลาจำพรรษาตลอด 3 เดือนนั้น เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงฆ์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันภายในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง เพื่อศึกษาพระธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย
ในวันเข้าพรรษาและช่วงฤดูพรรษากาลตลอดทั้ง 3 เดือน พุทธศาสนิกชนชาวไทยถือเป็นโอกาสอันดีที่จะบำเพ็ญกุศลด้วยการเข้าวัดทำบุญใส่บาตร ฟังพระธรรมเทศนา ซึ่งสิ่งที่พิเศษจากวันสำคัญอื่น ๆ คือ มีการถวายหลอดไฟหรือเทียนเข้าพรรษา และผ้าอาบน้ำฝน (ผ้าวัสสิกสาฏก) แก่พระสงฆ์ด้วย เพื่อสำหรับให้พระสงฆ์ได้ใช้สำหรับการอยู่จำพรรษา โดยในอดีต ชายไทยที่เป็นพุทธศาสนิกชนเมื่ออายุครบบวช (20 ปี) จะนิยมถือบรรพชาอุปสมบทเป็นพระสงฆ์เพื่ออยู่จำพรรษาตลอดฤดูพรรษากาลทั้ง 3 เดือน โดยพุทธศาสนิกชนไทยจะเรียกการบรรพชาอุปสมบทเพื่อจำพรรษาตลอดพรรษากาลว่า "บวชเอาพรรษา"
นอกจากนี้ ในปี พ.ศ. 2551 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็น "วันงดดื่มสุราแห่งชาติ" โดยในปีถัดมา ยังได้ประกาศให้วันเข้าพรรษาเป็นวันห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั่วราชอาณาจักร ทั้งนี้เพื่อรณรงค์ให้ชาวไทยตั้งสัจจะอธิษฐานงดการดื่มสุราในวันเข้าพรรษาและในช่วง 3 เดือนระหว่างฤดูเข้าพรรษา เพื่อส่งเสริมค่านิยมที่ดีให้แก่สังคมไทย
วันพฤหัสบดีที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
วันพุธที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
วันเสาร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2555
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)